CREAM - Creative Economy and Soft Power Management
แนะนำหลักสูตร
เนื้อหาเน้นไปที่ 5 ด้าน หรือ “5F” ตามแนวทางของกระทรวงวัฒนธรรม ได้แก่ F-Food อาหารไทย, F-Film ภาพยนตร์ไทย, F-Fashion แฟชั่นไทย, F-Fighting ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย และ F-Festival เทศกาลประเพณีไทย สู่ระดับโลก เพื่อเตรียมความพร้อมข้าราชการในระดับอำนวยการหรือเทียบเท่าจากทุกหน่วยงาน และหน่วยงานภายนอก ให้เป็นนักบริหารระดับสูงมีศักยภาพ ในการบูรณาการขับเคลื่อนบริหารงานด้วยแนวคิดซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่สังคมไทยและสังคมโลกในเชิงรุก จนสามารถผลิตผู้นำ กำลังคน และเครือข่าย ที่มีความรู้
ความเข้าใจ ความสามารถและมีทักษะ ในการนำความรู้จากหลักสูตรไปประยุกต์เป็นนโยบายในการทำงานที่บูรณาการขับเคลื่อนบริหารงานด้วยแนวคิดซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่สังคมไทยและสังคมโลก ส่งผลกระทบให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น ให้เป็นแรงงานที่มีทักษะสูง มีรายได้สูงขึ้น จากการบริหารงานท้องถิ่นด้วยการนำแนวคิดซอฟต์พาวเวอร์ และตอบสนองนโยบายของรัฐบาล
วัตถุประสงค์
1. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการเชิงสร้างสรรค์ (Creative Management) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) รวมทั้งการจัดการตามแนวคิด Soft Power
2. เสริมสร้างความรู้ ความสามารถ ทัศนคติและมุมมอง ในการบริหารจัดการแนวใหม่ โดยเฉพาะด้าน การจัดการเชิงสร้างสรรค์ เชิงกลยุทธ์ การบริหารการเปลี่ยนแปลง และการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อเป็น เครื่องมือในการบริหารนโยบายให้เกิดผลปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในการบูรณาการขับเคลื่อนการบริหารงานด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และ Soft Power การบริหารจัดการที่สะท้อนภาพลักษณ์ใหม่ของประเทศไทยพาอัตลักษณ์ท้องถิ่นและของดีของไทยให้ไปสู่ระดับโลก ควบคู่กับการจัดการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนขับเคลื่อนสู่สังคมที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
4. เพื่อสร้างเครือข่ายผู้บริหารขั้นสูงทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่าง ๆ ได้มีโอกาสได้มีส่วนร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเพื่อเสริมสร้างเสริมสร้างมุมมองในการบริหารจัดการเชิงสร้างสรรค์ (Creative Management) ร่วมกัน
ค่าธรรมเนียม
1. ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร 170,000 บาท
(ไม่รวมการศึกษาดูงานต่างประเทศ)
2. ค่าธรรมเนียมการศึกษาดูงานต่างประเทศ 1 ครั้ง จ่ายตามจริง
3. ค่าสมาชิก Club IRD ค่าใช้จ่าย 1,000 บาท
(บังคับชำระในวันรายงานตัว)
สถานที่อบรม
โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น
88 ถนนวิภาวดีรังสิต (กำแพงเพชร 6)
แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
ระยะเวลาการศึกษาอบรม
อบรมตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2567 – 18 กุมภาพันธ์ 2568
(เรียนทุกวันอังคาร)
เวลา 10.00 – 20.00 น. หรือตามที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนด
หลักฐานประกอบการสมัคร
(จัดทำในรูปแบบ PDF ไฟล์) แนบในใบสมัคร
1. รูปถ่ายสี ขนาด 2 นิ้ว (หน้าตรง ใส่สูท ไม่สวมแว่นดำ หรือเครื่องแบบข้าราชการ ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน) จำนวน 1 รูป
2. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
3. สำเนาบัตรประชาชน/ บัตรราชการ/ เจ้าหน้าที่ของรัฐ/ ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ/ บัตรประจำตัวข้าราชการเมือง/ พนักงานมหาวิทยาลัย พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
4. สำเนาปริญญาบัตร พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
5. สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (กรณีภาคเอกชน)จำนวน 1 ฉบับ
6. ผู้สมัครที่มิได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของหน่วยงาน/ สถาบัน/ องค์กร ให้หัวหน้าหน่วยงาน/ สถาบัน/ องค์กร ผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจอนุมัติให้เข้ารับการศึกษาอบรมได้ออกหนังสือยินยอมตามแบบฟอร์มที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนด
การสมัคร
ผู้สมัครต้องกรอกใบสมัครให้ครบถ้วนผ่านระบบออนไลน์ พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครที่จัดเตรียมไฟล์ .pdf
ตั้งแต่บัดนี้– 11 กันยายน 2567
(ภายในเวลา 16.30 น.)
ระบบการรับสมัครออนไลน์ทาง www.stm-ssru.com
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาอบรม
1. ประกาศรายชื่อและยืนยันเข้าร่วมอบรม
วันที่ 18 - 22 กันยายน พ.ศ. 2567
ทางเว็บไซต์ https://www.cream-ssru.com/ และ www.ird.ssru.ac.th
2. กิจกรรมลงทะเบียนรายงานตัว
วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์
คอนเวนชั่น เพื่อดำเนินการปฐมนิเทศแนะนำหลักสูตรและกิจกรรมต่างๆ และถ่ายภาพเพื่อ
จัดทำทำเนียบรุ่นให้แก่ผู้เข้าอบรม
หลักสูตรการจัดการเศรษฐกิจสร้างสรรค์และซอฟต์พาวเวอร์ สำหรับผู้บริหารขั้นสูง ใช้เวลาการศึกษาอบรมตลอดหลักสูตร ทั้งสิ้น 16 สัปดาห์ (จำนวน 108 ชั่วโมง)
ประกอบด้วย 6 หมวด
หมวดที่ 1
การบริหารจัดการเศรษฐกิจสร้างสรรค์
(Creative Economy)
รศ.ดร.ณดา จันทร์สม
ผู้อำนวยการหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
หมวดที่ 2
หลักการและการบริหารจัดการซอฟต์พาวเวอร์
คุณปริวรรต วงษ์สำราญ
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
หมวดที่ 3
เทคนิคการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และซอฟต์พาวเวอร์
ผศ.ชล บุนนาค
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move)
หมวดที่ 4
เทคนิคการสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์
ศ.ดร.สุรินทร์ คำฝอย
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
หมวดที่ 5
การเสริมสร้างประสบการณ์นักบริหารเชิงประจักษ์
การศึกษาดูงานในประเทศ 4 ครั้ง ในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
ทีมพี่เลี้ยง
หมวดที่ 6
การจัดทำโครงงานกลุ่ม
เชิงปฏิบัติการ
พร้อมนำเสนอผลงาน
ทีมวิทยากร
วิทยากรในหลักสูตร
เรียนรู้จากวิทยากรชั้นนำระดับประเทศ
ตารางเรียน
เรียนทุกวันอังคาร เวลา 10.00 – 20.00 น. หรือตามที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนด
ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ กรุงเทพฯ